ผ่าทางตันคนไทยติดบ่วงหนี้ ความเสี่ยงรอบด้านรอซ้ำเติม

แม้หนี้ครัวเรือนเพิ่มมากขึ้นจนถึง 15.96 ล้านล้านบาท ตามนิยามใหม่ของแบงก์ชาติ แต่หน่วยงานกำกับแห่งนี้…ก็ไม่ได้กังวลมากไปกว่าเดิม เนื่องจากหนี้ที่เพิ่มเข้ามาไม่ได้เป็นหนี้ก้อนใหม่แค่ในอดีตไม่เคยนับรวมเข้ามาก้อนเดียวกับหนี้ครัวเรือน แต่หนี้ที่แบงก์ชาติกังวลมากกว่าคือหนี้เสีย ให้สามารถแก้ไขได้, หนี้เรื้อรังให้มีทางเลือกปิดจบหนี้ได้, หนี้ใหม่ ให้มีคุณภาพ ไม่กลายเป็นปัญหาในอนาคต และสุดท้าย หนี้นอกระบบ ที่ต้องให้มีโอกาสมากขึ้นที่จะสามารถเข้ามากู้ในระบบได้

หนี้ที่ต้องเร่งแก้

ในส่วนที่แบงก์ชาติจะเร่งแก้ไขก่อนใครคือ หนี้ใหม่ ที่สถาบันการเงินต้องให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบมากขึ้น ต้องไม่โฆษณากระตุ้นก่อหนี้ ให้ข้อมูลครบถ้วน และต้องเป็นธรรมทั้งในด้านดอกเบี้ยและการให้บริการ และมีการแก้ปัญหาหนี้เรื้อรัง เพื่อให้กลุ่มที่มีหนี้แต่ที่ผ่านมา 5 ปีย้อนหลังจ่ายได้แค่ดอกเบี้ย จ่ายหนี้ไปแต่ไม่ตัดต้นสักที ได้มีโอกาสปิดหนี้ได้จริง แต่ก็มาพร้อมกับเงื่อนไขที่คนมีหนี้จะต้องชั่งใจและต้องกลับมาคิดหนัก

เงื่อนไขของการแก้ไขหนี้เรื้อรัง สถาบันการเงิน ต้องเสนอโปรแกรมแก้หนี้เรื้อรังให้กับคนที่เข้าเกณฑ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับว่า … บรรดาลูกหนี้รายนั้นสมัครใจเข้าร่วมหรือไม่?  หากต้องการเข้าร่วมจะได้รับดอกเบี้ยพิเศษไม่เกิน 15% จากเดิมเพดานอยู่ที่ 25% แต่เงื่อนไขสำคัญคือ ต้องเคลียร์ปิดจบหนี้ให้ได้ภายใน 5 ปี และต้องไม่ก่อหนี้เพิ่ม ยกเว้นสถาบันการเงินพิจารณาให้กรณีฉุกเฉิน ซึ่งข้อมูลการเข้าร่วมโปรแกรมแก้หนี้เรื้อรังนี้ขึ้นโชว์ในข้อมูลเครดิตบูโรด้วย โดยมีผลเริ่มบังคับใช้ในปี 67 ที่จะถึงนี้

รวมทั้งยังมีแนวทางแก้หนี้อื่น ๆ เช่น กำหนดภาระหนี้ต่อรายได้ให้กับผู้ปล่อยกู้อย่างสถาบันการเงินไว้เลยว่า ลูกหนี้เมื่อขอกู้แล้วจะต้องมีเงินเหลือใช้เท่าไร และแนวทางให้ดอกเบี้ยตามความเสี่ยงผู้กู้ ใครเสี่ยงมากดอกเบี้ยก็สูง แต่ใครมีความเสี่ยงต่ำดอกเบี้ยก็ถูกลงมา แต่แนวทางแก้หนี้ครัวเรือนของแบงก์ชาติ จะเพียงพอหรือไม่กับสภาวการณ์ที่ประเทศไทยกำลังเจอศึกหนักรอบด้านไม่ว่าจะทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

เสี่ยงซ้ำเติมลูกหนี้

สถานการณ์หนี้จะแก้ไขได้ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวลูกหนี้ว่าจะร่วมมืออย่างไร ท่ามกลางลูกหนี้ที่มีปัญหาถูกซ้ำเติมรอบด้านจากทั้งค่าครองชีพสูง ไม่ว่าจะราคาอาหารที่ขึ้นแล้วก็ลงยาก ราคาพลังงานก็กลับมาเร่งขึ้นทั้งค่าไฟและน้ำมัน ยังไม่นับรวมปรากฏการณ์เอลนีโญ หรือฝนทิ้งช่วงอาจทำให้แล้ง ซึ่งในปี 66 นี้ประเทศไทยเสี่ยงเหลือเกินที่จะประสบปัญหาภัยแล้งจัด จนกระทบกับพืชผลทางการเกษตร ยิ่งกระหน่ำซ้ำเติมไปยังครัวเรือนชาวเกษตรกรซึ่งเดิมทีมีหนี้สูงและรายได้น้อยอยู่แล้ว

ไหนจะความเสี่ยงจากการค้าประเทศคู่ค้ากับไทย โดยเฉพาะจีนกลับมาชะลอตัวหนัก ทำให้กระทบภาคการส่งออกไทยโดยตรงและจะเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นหลังจากนี้ ทำเอาหลายหน่วยงานได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจ หรือจีดีพี ก็เพราะต้นตอจากการส่งออกไทยที่อาจต่ำกว่าคาดเดิม ยิ่งส่งผลมายังเศรษฐกิจไทยในปี 66 มีแนวโน้มจะลดน้อยลงกว่าคาด ซึ่งสะท้อนมายังรายได้ เงินที่หมุนเวียนลงสู่ระบบเศรษฐกิจอาจสะดุดลงในบางเครื่องยนต์

รัฐบาลใหม่ยังไร้แวว

ยิ่งเฉพาะเงินที่ลงสู่ระบบเศรษฐกิจยังดูไม่สดใส จากที่งบประมาณปี 67 ซึ่งเป็นเงินก้อนใหม่โดยปกติเริ่มต้นในเดือน ต.ค.66 นี้ กลับต้องถูกเลื่อนออกไปอย่างน้อย 2 ไตรมาส หรือประมาณ 6 เดือน นั่นเท่ากับว่า…ในปีนี้และช่วงต้นปีหน้า ยังไม่มีเงินลงทุนจากภาครัฐที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ออกมาเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ไทยยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ในเวลานี้ แม้เลือกตั้งเสร็จสิ้นมาตั้งแต่วันที่ 14 พ.ค.66 ที่ผ่านมาเป็นเวลา 3 เดือนพอดิบพอดี

ผลเสียของการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า ยังไม่ได้ส่งผลต่องบประมาณปี 67 ให้เลื่อนออกไปเท่านั้น แต่ภาคเอกชน นักลงทุนในประเทศและต่างประเทศต่างเฝ้าจับตามองดูว่ารัฐบาลใหม่จะมีนโยบายการลงทุน หรือนโยบายอะไรออกมาบ้าง ทำให้การลงทุนเอกชนในเวลานี้หยุดชะงักตามไปด้วย ยิ่งไปกว่านั้นนโยบายกระตุ้นการบริโภคและส่งผลต่อเศรษฐกิจกลับต้องรอลุ้นว่าจะออกมาได้ช่วงเวลาไหน โดยเฉพาะแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทที่เป็นนโยบายชูโรงของพรรคเพื่อไทยซึ่งเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลในเวลานี้

หนทางเพิ่มรายได้

นโยบายแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาท รวมถึงนโยบายเกี่ยวกับการปรับขึ้นค่าแรง เป็นสิ่งที่ครัวเรือนเฝ้าติดตามมากที่สุด เพราะหวังว่าเงินที่ได้จะจุนเจือ เพิ่มอำนาจการซื้อให้มากขึ้น และได้มีทางออกการแก้หนี้ครัวเรือน ซึ่งการแก้ได้คงไม่ใช่แนวทางลดภาระหนี้เพียงอย่างเดียว แต่ที่สำคัญที่สุด…คงเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน สร้างงานสร้างอาชีพ เพื่อสร้างรายได้ เมื่อมีเงินมากขึ้น ก็จะมีเงินมาใช้หนี้ และมาใช้จ่าย หากเหลือก็มีเก็บออมมากกว่าปัจจุบันที่เงินไม่เหลือเก็บ และหนี้ที่มีก็สูง

บูโรฯ เปิดหนี้เสีย

ภาระหนี้ของคนไทยจากข้อมูลของ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ที่จัดเก็บมีทั้งสิ้น 13.45 ล้านล้านบาท แต่ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอลกลับเพิ่มขึ้นทะลุ 1.03 ล้านล้านบาทไปแล้ว ต้นตอสำคัญคือ เงินไม่พอใช้ รายได้ไม่พอรายจ่าย ไม่พอชำระหนี้จนกลายเป็นหนี้เสียในที่สุด

หากแยกหนี้เสียจำนวน 1.03 ล้านล้านบาท ออกมาดูในไส้ในแล้ว แบ่งเป็นหนี้รถยนต์ 2 แสนล้านบาท, หนี้บ้าน 1.8 แสนล้านบาท, หนี้ส่วนบุคคล 2.5 แสนล้านบาท, หนี้บัตรเครดิต 5.6 หมื่นล้านบาท, หนี้เกษตรกร 7.2 หมื่นล้านบาท เป็นต้น เท่านั้นยังไม่พอยังมีหนี้ที่ค้างชำระจนใกล้จะเป็นหนี้เสีย หรือค้างไม่เกิน 3 เดือนเป็นกลุ่มที่น่าเฝ้าระวังโดยเฉพาะหนี้รถยนต์ที่มีโอกาสไหลตกชั้นเป็นหนี้เสียเพิ่ม 2 แสนล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

เช่นเดียวกับ… หนี้บ้านที่มีความเสี่ยงเป็นหนี้เสีย 1.3 แสนล้านบาท ซึ่งข้อมูลที่น่าสนใจคือ 9 หมื่นล้านบาทเป็นลูกหนี้ของแบงก์รัฐ กลุ่มนี้บ้านราคาไม่แพงมาก แต่เป็นคนรายได้น้อยจนถึงปานกลาง ยังไม่นับรวมหนี้ส่วนบุคคลที่มีโอกาสเป็นหนี้เสียอีก 8.6 หมื่นล้านบาท เห็นตัวเลขเหล่านี้หลายคนก็เกิดคำถามและน่ากังวลว่าจะสกัดกั้นหนี้เสียไม่ให้เกิดขึ้นไปมากกว่าเดิมได้อย่างไร

ลูกหนี้กำลังอ่อนแรง

ในขณะที่หนี้เสียที่ได้รับผลกระทบจากช่วงโควิด หรือเรียกว่าหนี้เสียรหัส 21 ก็ยังเพิ่มขึ้น จากค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวไม่ทั่วถึง แสดงถึงความอ่อนแรงของความสามารถชำระหนี้ของลูกหนี้ แม้ว่าสถาบันการเงินและแบงก์ชาติจะพยายามเร่งปรับโครงสร้างหนี้แล้วก็ตาม แต่หลายคนก็ไม่ไหวจริง ๆ

หนี้เสียรหัส 21 ในไตรมาส 2 ปี 66 เครดิตบูโรเปิดข้อมูลออกมาอยู่ที่ 3.7 แสนล้านบาท มีจำนวนอยู่ทั้งสิ้น 3.4 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นมากถึง 3 แสนคนเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 66 ซึ่งการเพิ่มขึ้นมา 6 หมื่นล้านบาทเป็นหนี้เสียที่เกิดขึ้นจากแบงก์รัฐล้วน ๆ 3.6 หมื่นล้านบาท

กังวลหมดโปรโมชัน

สิ่งที่จะช่วยได้ในเวลานี้ก็คือมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของแบงก์ชาติ หรือมาตรการฟ้าส้ม ที่ผ่อนเกณฑ์การจัดชั้นสำรองเอื้อให้สถาบันการเงินเบาตัว และช่วยเหลือลูกหนี้ได้เต็มที่ ซึ่งยังมีเวลาให้เข้ามาตรการจนถึงสิ้นปี 66 นี้ และหลังจากนั้น แบงก์ชาติประกาศชัดเจนแล้วว่า มาตรการฟ้าส้มคงหมดจบลงไปในปีนี้ นั่นเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายกังวลว่าหากหมดมาตรการเหล่านี้แล้วจะทำให้ลูกหนี้อ่อนแรงลงหรือไม่ และหนี้เสียจะทะยานเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าไรคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง

แต่ในเวลานี้หากไปถามนายแบงก์ นายธนาคาร แบงก์ชาติ หรือหน่วยงานการเงินต่าง ๆ ก็คงยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า หนี้เสียก็คงปรับขึ้นบ้างแต่คงไม่น่ากังวลเพราะคงไม่มีวันที่ลูกหนี้จะตกชั้นแบบในลักษณะหน้าผาเอ็นพีแอล และสถาบันการเงินคงไม่ปล่อยมือลูกหนี้ให้ไหลเป็นหนี้เสียเพิ่ม เนื่องจากอาจเพิ่มต้นทุนในการดูแลตั้งสำรองหนี้ เป็นต้นทุนมากกว่าประคับประคองให้ลูกหนี้รอดพ้นไปตลอดรอดฝั่ง

ที่สำคัญ!! หากลูกหนี้รายใดรู้ตัวว่ากำลังจะมีปัญหา ผ่อนจ่ายหนี้ไม่ไหว อาจเนื่องด้วยรายจ่ายมากมาย ในขณะที่มีหนี้สูง หรืออาจเป็นเพราะอื่นใดก็ตาม!! อย่างแรก… ติดต่อแบงก์เจ้าหนี้เพื่อขอความช่วยเหลือ หากคิดอะไรไม่ออก ก็กดโทรศัพท์ มาที่เบอร์ 1213 เบอร์ของแบงก์ชาติ ที่มี “หมอหนี้” เพื่อประชาชน ไว้คอยให้คำปรึกษาคนที่เดือดร้อน รวมไปถึงยังมีีทางด่วนแก้หนี้ไว้คอยประสานกับเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงิน รวมทั้งยังมีคลินิกแก้หนี้ไว้แก้หนี้เสียที่ไร้หลักประกัน ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวลูกหนี้เองว่าจะเร่งแก้ไข เร่งปรับหนี้ตัวเองอย่างไร หรือปล่อยไว้จนอาจแก้ไม่ทันจนติดบ่วงหนี้ไร้ทางออก!!.

ทีมเศรษฐกิจ